พลูคาว สมุนไพรไทยมากคุณประโยชน์

     พลูคาวเป็นสมุนไพรพื้นเมืองที่ได้รับความนิยมในแถบเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มานาน ในประเทศไทยมักพบได้มากในภาคเหนือ ส่วนในประเทศจีน พลูคาวเป็นพืชสมุนไพรที่นิยมนำมาใช้รักษาอาการไอ โรคปอดบวม และโรคหลอดลมอักเสบ พลูคาวมีสารประกอบฟีนอลที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายมากมาย เช่น สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid) อัลคาลอยด์ (Alkaloid) และสารเควอซิทิน (Quercetin) ซึ่งอาจมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการทำลายเซลล์ในร่างกาย และยับยั้งการอักเสบได้

มีงานวิจัยที่สนับสนุนว่า สาระสำคัญในพลูคาวมีฤทธิ์ที่สามารถในการทำลาย และ/หรือยับยั้งเชื้อไวรัสได้หลายชนิดคือ ไวรัสไข้หวัดใหญ่ เอดส์ เริม และไวรัสที่ทำให้เป็นโรคมือเท้าปากเปื่อย ดังนี้

- ฤทธิ์ยับยั้งและทำลายไวรัสไข้หวัดใหญ่ Influenza virus

- สาระสำคัญ Quercetin 3-rhamnoside (Q3R) จากพลูคาวมีประสิทธิภาพสูงในการทำลายไวรัสไข้หวัดใหญ่ Influenza A

- ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ H1N1 Influenza โดยทดลองในเชื้อที่ทำให้เกิดการติดเชื้อปอดอักเสบแก่หนุทดลอง

- ฤทธิ์ยับยั้งและทำลายไวรัสเอดส์ Human immunodeficiency virus type 1 (HIV-1) ได้โดยตรง โดยไม่เป็นพิษต่อเซลล์ของร่างกาย

- Houttuynoside A (1) and Houtt uynamide A2 และ Norcepharadiond B มีฤทธิ์ยับยั้งและทำลายไวรัสเริม Herpes simplex virus type 1 (HSV-1)

- ฤทธิ์ต้านการเจริญของเชื้อเริม Anti-Herpes simplex virus activity ชนิด HSV-2

- ฤทธิ์ยับยั้งเชื้อไวรัสเอนเตอโรไวรัส (Enterovirus 71) ซึ่งทำให้เกิดโรคมือเท้าปากเปื่อย (Hand Foot Mouth) ซึ่งมีการระบาดในหลายประเทศ และในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงสามารถทำให้เกิดกล้ามเนื้อหัวใจ สมอง และเยื่อหุ้มสมองอักเสบได้

ปัจจุบันนี้ในประเทศจีนมีการใช้พลูคาวเป็นส่วนผสมในตำรับยารักษาโรคที่เกิด จากไวรัสโดยมีการจดสิทธิบัตรไว้หลายรายการ เช่น ตำรับยารักษาการติดเชื้อจาก Cytomegalovirus ในคน เป็นส่วนผสมยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่ (Influenza virus) เป็นส่วนผสมสำหรับยาน้ำ สำหรับลดไข้ รักษาหลอดลมอักเสบฉับพลันหรือเรื้อรัง เป็นส่วนประกอบในตำรับยารักษาโรคติดเชื้อฉับพลัน เช่น ไข้หวัดใหญ่ และการติดเชื้อทางเดินหายใจ

  • พลูคาวกับการต้านอนุมูลอิสระ และการต้านการอักเสบ

พลูคาวมีสาระสำคัญที่มีฤทธิ์ในการต้านอนุมูลอิสระหลายชนิด น่าจะเป็นด้วยกลไกของการต้านอนุมูลอิสระ ทำให้มีผลต่างๆ ตามมา ดังนี้

ในปี 2006 มีงานวิจัยว่า สารสกัดจากพลูคาวในรูปของการฉีดมีฤทธิ์ต้านการอักเสบได้ เป็นการวิจัยในหนูทดลอง ที่ทำให้เยื่อหุ้มปอดอักเสบ ด้วยการฉีดสารเคมีที่ระคายเคืองคือ คาราจีแนน (Carrageenan) เข้าไปทำให้ระคายเคืองต่อเยื่อหุ้มปอด

ในปีเดียวกันมีงานวิจัยทำนองคล้ายกัน พบว่า ด้วยกลไกต้านอนุมูลอิสระ สารสกัดจากพลูคาวสามารถลดการเกิดเนื้อเยื่อพังผืดในปอดของหนูทดลอง (Pulmonary fibrosis) ที่ถูกเหนี่ยวนำให้เกิดการอักเสบโดยยาบลีโอมัยซินได้อีกเช่นกัน

ในปี 2007 มีงานวิจัยว่า สารสกัดจากพลูคาวช่วยปกป้องไตเสื่อมในหนูทดลองที่เป็นเบาหวาน

ในปี 2009 มีงานวิจัยว่า พลูคาวเป็นหนึ่งในสมุนไพรห้าชนิดที่มีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระสูงที่ สุด จากสมุนไพรไทย 30 ชนิด ที่มีใช้ในตำรับยารักษาโรคเบาหวาน

พลูคาวกับการทดสอบความเป็นพิษ

พบว่าสาร decanoyl acetaldehyde ซึ่งแยกได้จากพลูคาวในขนาดประมาณ 1.6 กรัม ต่อน้ำหนักตัว 1 กก. เป็นขนาดที่ทำให้หนูถีบจักรตายไปครึ่งหนึ่ง (LD 50) เมื่อฉีดเข้าหลอดเลือดดำสุนัข ในขนาด 38-47 มิลลิกรัมต่อน้ำหนักตัว 1 กิโลกรัม ทำให้สุนัขตาย และเมื่อกรอกเข้ากระเพาะอาหารของสุนัขวันละ 80-160 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ติดต่อกัน 1 เดือน จะทำให้สุนัขมีน้ำลายออกมาก และระยะแรกมีอาการอาเจียน โดยที่ไม่พบความเป็นพิษอื่นอีก

นอกจากนั้นพบว่า พลูคาวมีการกระตุ้นให้เกิดการแพ้แสง (Phyto toxic dermatitis) เป็นรายงานผู้ป่วยหญิงที่บริโภคพลูคาวในรูปแบบที่เป็นน้ำและผงแห้งติดต่อกัน 20 วัน เกิดรอยด่างสีม่วงแดงที่แก้มทั้งสองข้าง และผิวหนังร้อนแดงที่หน้าผาก ลำคอ คาง แขน และฝ่ามือ

 

 

อ้างอิง

1.Hayashl K, Kamiya M, Hayashi T. Virucidal effects of the steam distillate from Houttuynia cordata and its components on HSV-1, Influenza virus, and HIV. Planta Med. 1995 Jun;61(3):237-41

2. Chlang LC,et al, Anti-Herpes simplex virus activity of Bldens pllosa and Houttuynla cordata. Am J Chin Med. 2003;31(3);355-62

3. Lin TY, et al. Anit-enterovirus 71 activity screening of Chinese herbs with anti-Infection and Inflammation activities. Am J Chin Med.2009;37(1):143-58

4. Choi HJ, Song JH, Park KS, Kwon DH. Inhibitory effects of quercetin 3-rhamnoside on influenza A virus replication. Eur J Pharm Scl. 2009 Jun 28;37(3-4):329-33, Epub 2009 Mar 14

5. Chou SC, et al, The constituents and their bloactivities of Houttuynia cordata. Chem Pharm Bull (Tokyo). 2009 Nov;57(11):1227-30

6. Pharmacodynamic experiment of the antivirus effect of houttuynia cordata Injection on Influenza virus In mice. Yao Xue Xue Bao. 2010 Mar;45(3):399-402

7.กัลยา อนุลักขณาปกรณ์ ผักคาวตองกับการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยา สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอง Houttuynia cordata Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ISBN 97475497784

8. Ng LT, Yen FL, Liao cww Lin CC.Protective effect of Houttuynia cordata extract on bleomycin-Induced pulmonary fibrosis in rats, Am J Chin Med. 2007;35(3):465-75

9. Wang F, Lu F, Xu L, Effects of Houttuynia cordata thumb on expression of BMp-7 and TGF-betal in the renal tissues of dlabetic rats. J Tradit Chin Med. 2007 Sep;27(3):220-5

10 Antioxidative activity, polyphenollc content and antl-glycation effect of some thai medicinal plants traditionally used In dlabetlc patlents. Med Chem. 2009 Mar;5(2):139-47

11. Saito F, Phytophototoxic dermatitis induced by Houtuynia cordata. Environmental Dermatology 2(3):208-211 ในกัลยาอนุลักชณาปกรณ์ ผักคาวตองกับการศึกษาทางด้านเภสัชวิทยา สมุนไพรน่ารู้ผักคาวตอบ Houttuiynia cordatd Thunb สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ISBN 97475497784