มารู้จักกับตัวยา “แคปไซซิน” ในพริก บรรเทาอาการปวดเมื่อย
ปวดเมื่อย เป็นอาการที่พบได้บ่อยในชีวิตประจำวัน สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนไม่ว่าคนทำงาน แม่บ้าน นักกีฬา หรือคนอื่น ๆ เกิดจากการตึงหรือหดตัวของกล้ามเนื้อ ทำให้ปวดเมื่อย หลายคนเลือกบรรเทาอาการด้วยยาทั้งแบบกินและแบบทา หนึ่งในตัวยาที่ใช้สำหรับบรรเทาอาการปวดเมื่อยก็คือ “แคปไซซิน” ที่หลายคนรู้จัก ขณะที่บางคนอาจยังไม่เคยรู้ ครั้งนี้เป็นการนำเสนอข้อมูลเพื่อทำความรู้จักกับแคปไซซินและวิธีการใช้งานที่เหมาะสม
แคปไซซิน
สารสำคัญในพืชจำพวกพริกมีฤทธิ์ต้านเชื้อราและบรรเทาอาการปวดได้ ทางเภสัชกรรมจึงนำมาพัฒนาใช้เป็นยาทาสำหรับบรรเทาอาการปวด
กลไกการออกฤทธิ์
- ทาช่วงแรก
- กระตุ้นการนำความปวด
- รู้สึกร้อน
- เมื่อทาต่อเนื่อง 2-3 สัปดาห์
- ตัวยาลดสารสื่อประสาทที่นำความปวด
- ปวดลดลงและความรู้สึกร้อยจะน้อยลงกว่าการทาช่วงแรก
วิธีใช้
การใช้ครั้งแรกควรทาในปริมาณครึ่งข้อนิ้ว ทาบริเวณที่ปวดเป็นฟิล์มบาง ๆ ไม่ต้องนวด สามารถทาได้ 2-3 ครั้ง/วัน และควรทาต่อเนื่องจนกว่าอาการจะดีขึ้น สามารถทาติดต่อกันได้นานเป็นเดือน
ผลข้างเคียงของแคปไซซิน : แสบ ร้อน คัน ผิวไหม้
ข้อแนะนำ
- หากแสบร้อน/ระคายเคืองผิว ใช้น้ำมันพืช ออยล์ ครีม เช็ดแล้วล้างออก หรือใช้สบู่ แชมพู ชะล้าง
- ควรใช้ในผู้ที่ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ไม่แนะนำในผู้ที่ปวดเฉียบพลัน
- ควรทาต่อเนื่องจนอาการดีขึ้น หากหยุดทากลางคันแล้วกลับไปทา จะเป็นการเริ่มต้นรักษาใหม่
ไขข้อสงสัย
- การใช้แคปไซซินเผาผลาญไขมัน เพื่อลดน้ำหนักยังไม่มีข้อมูลแน่ชัด
- ในผู้ป่วยข้ออักเสบ จัดเป็นผู้ที่ปวดต่อเนื่องเป็นเวลานาน ยาแคปไซซินถือเป็นยาที่ตอบโจทย์
ข้อควรระวัง
- ห้ามใช้ในผู้ที่แพ้สารแคปไซซิน
- เด็กอายุต่ำกว่า 12 ปี ผิวยังบอบบาง ไม่ควรใช้
- ผู้สูงอายุควรใช้อย่างระมัดระวัง เพราะผิวมักบอบบาง
- สตรีมีครรภ์/ให้นมบุตร ใช้ตามคำแนะนำหรือภายในการดูแลของแพทย์
- หลีกเลี่ยงการใช้ยาหมดอายุ
- หลังทายาไม่ควรออกกำลังกาย อาบน้ำ ตากแดด เพราะจะทำให้รู้สึกร้อนมากยิ่งขึ้น
- หลีกเลี่ยงการทาที่เยื่อบุอ่อน (รอบดวงตา ริมฝีปาก จมูก อวัยวะเพศ) รวมถึงบริเวณรอบแผลเปิด รอยไหม้
- หลังทายาห้ามถูนวดและควรล้างมือให้สะอาด