ดูแลหัวใจด้วยเห็ดหลินจือ
เห็ดหลินจือ มีฤทธิ์ขยายหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงหัวใจ ช่วยบำรุงการให้ไหลเวียนของเลือดดียิ่งขึ้น ทำให้เลือดไหลเวียนสะดวก และสามารถช่วยป้องกันลิ่มเลือดแข็งตัวในเส้นเลือดได้ และยังช่วยในการสร้างเม็ดเลือดแดงได้อีกด้วย โดยเห็ดหลินจือที่นิยมนำมาใช้ประโยชน์ทางยาจะเป็นพันธุ์ เห็ดหลินจือแดง
สารอาหารที่สำคัญในเห็ดหลินจือแดง เช่น
– ไตรเทอร์พีน ที่ช่วยกำจัดการแบ่งตัวของเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเซลล์มะเร็งตับ ป้องกันโรคภูมิแพ้ ลดความดันโลหิต ลดไขมันในเลือด ป้องกันไขมันอุดตันในเส้นเลือด
– นิวคลีโอไทด์ ที่ช่วยออกฤทธิ์บรรเทาอาการเจ็บปวด ป้องกันลิ่มเลือดแข็งตัวในเส้นเลือด ลดความเสี่ยงโรคอัมพฤกษ์ อัมพาต ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อไวรัส
– พอลิแซ็กคาไรด์ มีฤทธิ์เสริมระบบภูมิคุ้มกันร่างกาย ช่วยกำจัดเซลล์มะเร็ง ยับยั้งเนื้องอก ลดน้ำตาลในเลือด ลดอาการอักเสบ
– เจอมาเนียม ซึ่งมีส่วนในการช่วยเสริมสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย บำรุงประสาท สมอง หัวใจ กระตุ้นระบบไหลเวียนเลือด
– เออร์โกสเตอรอล ซึ่งเป็นสารที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรงของกระดูกและฟัน และสารอนุพันธ์อื่น ๆ
สรรพคุณทางยาของเห็ดหลินจือแดง
1. ช่วยเสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย
2. ช่วยการทำงานของตับและยับยั้งเซลล์มะเร็ง
3. รักษาอาการภูมิแพ้
4. ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ
5. ช่วยบำรุงผิวพรรณให้อ่อนเยาว์
6. บรรเทาอาการของโรคเบาหวาน
7. ลดความดันโลหิต
8. ช่วยรักษาอาการอ่อนเพลียและซึมเศร้า
วิธีการรับประทานเห็ดหลินจือ ให้ได้ประโยชน์สูงสุด
รูปแบบโบราณ คือ การนำเห็ดหลินจือไปตากแห้ง จากนั้นนำมาต้มกับน้ำและดื่ม วิธีนี้อาจยุ่งยากแถมรสชาติยังอาจขมเฝื่อน ทำให้รับประทานได้ยาก
รูปแบบแคปซูล โดยนำเห็ดหลินจือแห้งมาบดเป็นผง และนำมาบรรจุในแคปซูล วิธีนี้แม้จะทำให้รับประทานได้ง่ายขึ้น แต่มีการควบคุมคุณภาพที่ดี ไม่อย่างนั้นอาจมีการปนเปื้อนโลหะหนักหรือสารเคมีได้
รูปแบบแคปซูลนิ่ม จากสารสกัดเห็ดหลินจือแดง รูปแบบนี้จะใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่จนได้สารสกัดที่มีความเข้มข้น และอุดมด้วยสารที่มีคุณประโยชน์ตามต้องการสูงสุด ดูดซึมได้ง่าย
ข้อควรระวังในการรับประทาน
- การรับประทานเห็ดหลินจืออาจเกิดเกิดผลข้างเคียงได้ เช่น ปากแห้ง คอแห้ง คันจมูก เลือดกำเดาไหล ท้องไส้ปั่นป่วน ถ่ายเป็นเลือด
- เด็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ไม่แนะนำให้รับประทาน
- ผู้ที่แพ้เห็ดหรือวิตามินไม่ควรรับประทาน
- ไม่ควรรับประทานติดต่อกันนานเกินกว่า 1 ปี
- ผู้ที่ตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร ไม่ควรรับประทาน
- ผู้ที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด ควรหยุดบริโภคเห็ดหลินจือ อย่างน้อย 2 สัปดาห์ก่อนวันผ่าตัด
- ผู้ที่มีความดันโลหิตต่ำ ผู้ที่มีภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ผู้ที่มีภาวะมีเลือดออกผิดปกติ ผู้ป่วย SLE ไม่ควรรับประทาน
- ผู้ป่วยโรคไตที่มีแนวโน้มจะต้องฟอกหรืออยู่ในระยะฟอกไตแล้ว ไม่แนะนำให้รับประทาน
สอบถามข้อมูลการใช้สมุนไพรเพิ่มเติม คลิกที่นี่
เรียบเรียงโดย พท.ภ.จิราภา ทองพึ่งสุข
แหล่งข้อมูล
1.กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกกระทรวงสาธารณสุข. เห็ดหลินจือกับการดูแลสุขภาพ